วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วัฒนธรรมการเข้าร่วมทางการเมืองอย่างไม่มีความเป็นการเมือง



ความหมาย :

เป็นวัฒนธรรมของสังคมการเมืองที่สมาชิกของสังคมการเมืองยังเชื่อมั่นในความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบชนเผ่า โดยไม่สนใจความเป็นเหตุเป็นผลของอำนาจ แต่ก็อยากเข้ามามีส่วนร่วมในอำนาจดังกล่าว ทว่าการเข้าร่วมก็เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนเป็นหลักมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม

ภาษาอังกฤษ :  the parochial-participant culture

วัฒนธรรมแบบเริ่มเข้าร่วมทางการเมือง



ความหมาย :

เป็นวัฒนธรรมในสังคมการเมืองที่สมาชิกในสังคมการเมืองบางส่วนเริ่มตื่นตัวถึงอำนาจในเชิงรุกของตน โดยที่สมาชิกในสังคมการเมืองที่ยังมีลักษณะวางเฉย (parochial) และมีลักษณะแบบไพร่ (subject) เริ่มกลายเป็นผู้มีส่วนร่วม (participant) ในแบบประชาธิปไตย โดยสังคมการเมืองก็เริ่มมีการสร้างสถาบันมารองรับความต้องการในการมีส่วนร่วมดังกล่าวควบคู่ไปด้วย

ภาษาอังกฤษ : the subject-participant culture

วัฒนธรรมแบบเริ่มรับรู้การเมือง



ความหมาย :

วัฒนธรรมในสังคมการเมืองแบบชนเผ่าที่กำลังเปลี่ยนผ่านสู่สังคมสมัยใหม่ สมาชิกในสังคมการเมืองจะปฏิเสธความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบเดิม ที่เป็นเรื่องของศาสนา หรือความเชื่อเป็นหลักมาสู่ลักษณะของความสัมพันธ์ทางอำนาจที่เป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น อย่างไรก็ตามแม้สมาชิกในสังคมการเมืองจะรับรู้ว่ามีความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบใหม่เกิดขึ้นทว่าก็ไม่มีความสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมือง แต่เลิกที่จะรอรับนโยบายจากฐานอำนาจใหม่ไม่ต่างจากที่เคยเกิดขึ้นในลักษณะวัฒนธรรมแบบไม่สนใจการเมือง

ภาษาอังกฤษ : the parochial-subject culture

วัฒนธรรมแบบรับรู้แต่ไม่เข้าร่วมทางการเมือง



ความหมาย :

เป็นวัฒนธรรมในสังคมการเมืองที่สมาชิกในสังคมการเมืองรับรู้ถึงการบริหารกิจการบ้านเมือง และอำนาจทางการเมือง และมีความภาคภูมิใจในความเป็น/ความมีการเมือง (political) ของสังคมการเมือง ทว่าความสัมพันธ์ระหว่างสังคมการเมืองกับสมาชิกยังเป็นระบบบนลงล่าง (top-down or downward flow) และวัฒนธรรมการเมืองยังเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก (affective) และเป็นเรื่องของกฎเกณฑ์ปฏิบัติ (normative) มากกว่าที่จะเป็นการเมืองแบบใช้เหตุใช้ผล (cognitive) เช่นกัน ทั้งนี้สมาชิกในสังคมการเมืองจึงระลึกถึงอำนาจในทางการเมืองแบบเป็นฝ่ายตั้งรับนโยบาย (passive role) แต่ไม่สนใจที่จะเรียกร้องนโยบาย (active role)
วัฒนธรรมการเข้าร่วมทางการเมืองอย่างแข็งขัน (the participant political culture) เป็นวัฒนธรรมของสังคมการเมืองที่สมาชิกของสังคมการเมืองมีความผูกพันต่อสังคมการเมืองในลักษณะที่เป็นเหตุเป็นผล (cognitive) และมีความตื่นตัวในเรื่องการใช้อำนาจเชิงรุกในทางการเมือง (active role)

ภาษษอังกฤษ : the subject political culture

วัฒนธรรมแบบไม่สนใจการเมือง


ความหมาย :

เป็นลักษณะทางวัฒนธรรมทางการเมืองที่เกิดขึ้นในสังคมการเมืองแบบชนเผ่า (tribal society) เช่นในอาฟริกา และในชุมชนท้องถิ่นเล็กๆที่ปกครองตนเอง ในสังคมการเมืองดังกล่าวยังไม่มีการแบ่งงานกันทำ ไม่มีการแบ่งบทบาท รวมถึงหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการไม่แบ่งการเมือง , สังคม และศาสนาออกจากกัน วัฒนธรรมแบบไม่สนใจการเมืองจะมองการเมืองว่ามีลักษณะเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก (affective) และเป็นเรื่องของกฎเกณฑ์ปฏิบัติ (normative) มากกว่าที่จะเป็นการเมืองแบบใช้เหตุใช้ผล (cognitive)

ภาษาอังกฤษ : the parochial political culture

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เทวาธิปไตย



ความหมาย :

ระบอบการปกครองที่มีพระเจ้าหรือเทพเป็นประมุข หรือในความหมายกว้าง ๆ คือระบอบการปกครองที่รัฐปกครองโดยอำนาจจากเทพ (divine guidance) หรือโดยผู้ที่ถือกันว่าได้รับอำนาจหรือการดลใจโดยตรงจากเทพ ในภาษากรีกคอยเน (Koine Greek) หรือภาษากรีกสามัญคำว่า “theocracy” มาจากคำว่า “kra′tos” โดย “the.os” หรือ “ปกครองโดยพระเจ้า” สำหรับผู้มีความศรัทธาแล้วระบบนี้ก็เป็นระบอบการปกครองที่ใช้อำนาจจากเทพในการปกครองมวลมนุษย์ในโลก ไม่โดยผู้ที่เป็นเทพกลับชาติมาเกิด (incarnation) ก็มักจะโดยผู้แทนของศาสนจักรที่มีอำนาจเหนืออาณาจักร[4] รัฐบาลที่ปกครองโดยระบบเทวาธิปไตยปกครองโดยเทพธรรมนูญ (theonom)

ภาษาอังกฤษ: Theocracy

โดยพฤตินัย



ความหมาย :

สิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกับวลี "for all intents and purposes" ("สรุปโดยทั่วไปแล้ว") หรือ "in fact" ("ตามความเป็นจริง") ในทางการปกครอง "de facto government" อาจจะหมายถึงรัฐบาลที่มีอำนาจปกครองที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นที่ยอมรับโดยนานาชาติว่าเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนั้นก็อาจจะเป็นคำที่ใช้สถานะการณ์ที่ไม่มีกฎหรือมาตรฐานแต่มีการปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป

ฆราวาสนิยม



ความหมาย :

 แนวปรัชญาที่ว่าสถาบันการปกครองหรือสถาบันการเมือง หรือ สถาบันในรูปอื่นควรจะดำเนินการปกครองที่เป็นอิสระจากการอำนาจการควบคุมของสถาบันศาสนา และหรือความเชื่อทางศาสนา
ในแง่หนึ่งสถาบันที่ดำเนินนโยบาย “ฆราวาสนิยม” ก็จะเป็นสถาบันที่ถือนโยบายของความเป็นกลางในทางด้านความเชื่อทางศาสนาของประชาชนและ/หรือผู้อยู่ในการปกครอง ที่จะดำเนินการปกครองที่เป็นอิสระจากกฎและคำสอน หรือ ความเชื่อทางศาสนา, ที่จะไม่ใช้อำนาจตามหลักความเชื่อทางศาสนาในการบังคับประชาชน และ ที่ไม่มีการมอบอภิสิทธิพิเศษหรือให้การช่วยเหลือแก่สถาบันศาสนา หรือในอีกแง่หนึ่ง “ฆราวาสนิยม” หมายถึงมุมมองที่เกี่ยวกับกิจกรรมและการตัดสินใจของมนุษย์ โดยเฉพาะกิจกรรมและการตัดสินใจทางการเมือง ว่าควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงโดยปราศจากอคติจากอิทธิพลทางศาสนา

ภาษาอังกฤษ: secularism

คุณธรรมนิยม



ความหมาย :

การจะบรรจุหรือแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งย่อมไม่กระทำโดยคำนึงถึงทักษะความสามารถและ/หรือประสบการณ์ของบุคคลนั้นเป็นที่ตั้ง หากแต่คำนึงถึงคุณธรรมของบุคคลนั้น กับทั้งสถานการณ์และความต้องการในขณะที่มีการยื่นขอเข้ารับการบรรจุหรือการแต่งตั้งเป็นหลัก นอกจากนี้ ย่อมไม่คำนึงถึงสิ่งดังต่อไปนี้โดยเด็ดขาด กล่าวคือ ความยากดีมีจน (เศรษฐยาธิปไตย) ความสัมพันธ์ทางครอบครัว (คติเห็นแก่ญาติ) ความสัมพันธ์ฉันมิตร (คติเห็นแก่มิตร) ชนชั้นวรรณะ (คณาธิปไตย) ความเต็มใจและ/หรือความต้องการของบุคคลนั้น (ประชาธิปไตย) และพื้นเพอื่น ๆ ตามแต่สถานการณ์เป็นต้นว่าอำนาจทางการเมืองหรือสถานะทางสังคม อย่างไรก็ดี ในความเป็นจริง การมักไม่ได้เป็นไปตามหลักดังกล่าวโดยครบถ้วนนัก กับทั้งการบรรจุและการแต่งตั้งบุคคลก็มักพิจารณาถึงความเหมาะสมกับงาน ทักษะความสามารถ และบุคลิกภาพของบุคคลนั้นเป็นที่ตั้ง

ภาษาอังกฤษ: meritocracy

การแบ่งแยกอำนาจ



ความหมาย :

เป็นแบบของการบริหารรัฐบาลในแนวทางรัฐแห่งประชาธิปไตย แบบความคิดพัฒนาครั้งแรกในยุคกรีกโบราณ อย่างไรก็ตาม ครั้งแรกที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเกิดขึ้นในสมัยสาธารณรัฐโรมัน ซึ่งพบในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐโรมัน ภายใต้แบบความคิดนี้ รัฐจะถูกแบ่งออกเป็นสาขา ในแต่ละด้าน โดยแต่ละด้านเป็นอิสระจากกัน และแต่ละด้านก็มีความรับผิดชอบต่างกัน อันประกอบด้วย อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความยุติธรรมอันเกิดจากความเสมอภาคทางกฎหมาย



ความหมาย :

ทุกคนจะต้องได้รับการปฎิบัติโดยทัดเทียมกัน  แม้ในความเป็นจริงบุคคลมีสถานะทางสังคมแตกต่างกัน   แต่เมื่ออยู่ต่อหน้ากฎหมายแล้วทุกคนมีความเสมอภาคเหมือนกันหมด   รัฐบาลที่ดีจะต้องนำกฎหมายไปบังคับใช้ต่อคนในสังคมอย่างเสมอภาค  มิใช่เลือกปฎิบัติเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

ความยุติธรรมในการแบ่งสรรปันส่วน



ความหมาย

กล่าวคือเปิดพื้นที่ให้ประชาชนเข้าถึงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามความสามารถของแต่ละบุคคลตามคุณค่า (merits) ที่ถูกหนดไว้เมื่อเป็นเช่นนี้บุคคลควรได้รับการผลักดันผ่านทางระบบการศึกษาที่ถูกต้องตามข้อกำหนดของรัฐ

โดยสงบ




ความหมาย

การครอบครองโดยปราศจากการข่มขู่ การใช้กำลัง การหลอกลวง และไม่มีใครมาหวงห้ามกีดกัน แสดงความเป็นเจ้าของ หรือการฟ้องร้องขับไล่่

การครอบครองปรปักษ์



ความหมาย

การครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ บุคคลผู้ครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมายไทย ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี บุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น

ภาษาอังกฤษ: adverse possession หรือ hostile possession

การกำหนดการปกครองด้วยตนเอง



ความหมาย :

 สิทธิของบุคคลที่สามารถกำหนดการกระทำของตนเองได้โดยปราศจากการบังคับจากภายนอก ในทางการเมือง หลักการดังกล่าวถูกมองว่าเป็นเสรีภาพของบุคคลในดินแดนที่ยกให้หรือการรวมชาติที่จะกำหนดสถานะทางการเมืองของตน และวิธีการปกครองโดยปราศจากอิทธิพลมากเกินควรจากประเทศอื่น จนถึงปัจจุบันยังมีความขัดแย้งในการจำกัดความและหลักเกณฑ์ทางกฎหมายสำหรับการกำหนดกลุ่มซึ่งกล่าวอ้างสิทธิการกำหนดการปกครองด้วยตนเองทางกฎหมาย

ภาษาอังกฤษ: Self-determination


วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การขัดกันของผลประโยชน์



ความหมาย :

สถานการณ์ที่บุคคลผู้ดำรงตำแหน่งอันเป็นที่ไว้วางใจ เช่น ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในองค์กร ผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุข เป็นต้น ต้องเลือกระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ในวิชาชีพ ซึ่งทำให้ตัดสินใจยากในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอคติได้ การขัดกันของผลประโยชน์นี้สามารถเกิดขึ้นได้แม้ไม่ส่งผลทางจริยธรรมหรือความไม่เหมาะสมต่าง ๆ และสามารถทำให้ทุเลาเบาบางลงได้ด้วยการตรวจสอบโดยบุคคลภายนอก
การขัดกันของผลประโยชน์มิได้ปรากฏแต่ในทางวิชาชีพเท่านั้น แต่ยังอาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่บุคคลมีบทบาทหลากหลายและบทบาทเหล่านั้นก็เกิดขัดกันเอง เช่น ผู้จัดการฝ่ายขายอาจมีหน้าที่ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และก็อาจมีหน้าที่ในทางกตัญญูกตเวทีต่อญาติพี่น้องที่มาเสนอขายสินค้าใด ๆ เป็นต้น

ภาษาอังกฤษ: conflict of interest

กระบวนการกล่อมเกลาทางการเมือง



ความหมาย :

 กระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางการเมืองแก่ประชาชน หรือส่งผ่านวัฒนธรรมทางการเมือง กระบวนการสังคมประกิตทางการเมือง ช่วยผดุงวัฒนธรรมทางการเมืองเดิมไว้ โดยส่งผ่านจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง และในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคมย่างรวดเร็ว ฉับพลัน เช่น เกิดการปฏิวัติ กระบวนการสังคมประกิตทางการเมืองก็สร้างวัฒนธรรมทางการเมืองที่ไม่เคยมีมาก่อนขึ้นมาใหม่ได้

เสรีภาพในการแสดงออก



ความหมาย :

เป็นสิทธิการเมืองในการสื่อสารความคิดของบุคคลผ่านการพูด คำวา เสรีภาพในการแสดงออก บางครั้งใช้เป็นคำไวพจน์ แต่ยังรวมไปถึงพฤติการณ์ใด ๆ ในการแสวงหา ได้รับและนำข้อสนเทศหรือความคิดโดยไม่คำนึงถึงสื่อที่ใช้ ในทางปฏิบัติ สิทธิในเสรีภาพการพูดมิได้มีสมบูรณ์ในทุกประเทศ และสิทธินี้โดยทั่วไปมักถูกจำกัด เช่นเดียวกับการหมิ่นประมาท การดูหมิ่นซึ่งหน้า ความลามก และการยุยงให้ก่ออาชญากรรม

ภาษาอังกฤษ: freedom of expression



ความชอบธรรม


ความหมาย :

การให้เหตุผลเกี่ยวกับการใช้อำนาจของผู้ปกครอง และผู้ปกครองมีสิ่งใดที่เป็นที่อนุญาตสำหรับการใช้อำนาจของตนเอง และประชนจะให้เหตุผลอย่างไรสำหรับการเชื่อฟังปฏิบัติตามผู้ปกครอง  ความชอบธรรมนั้นประกอบไปด้วย ความมีศักยภาพของระบอบการเมือง ที่จะก่อให้เกิดการพิทักษ์รักษาความเชื่อที่ว่านี้ และหน่วยงานต่างๆ ทางด้านการเมืองที่เป็นอยู่นั้น จะต้องเป็นหน่วยงานที่มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับสังคม ความชอบธรรมต้องมีความสำพันธ์อย่างแนบแน่นกับความหมายของคำว่า ความรับผิดชอบ และความจำเป็นในการปฏิบัติตามคำสั่ง

ระบบอุปถัมภ์



ความหมาย : 

ระบบที่ใช้ในการบริหารงานบุคคล นับตั้งแต่ การให้ได้มาซึ่งบุคคล การบำรุงรักษา การพัฒนา การให้พ้นจากงาน โดยใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวไม่คำนึงถึงความสามารถของบุคคลเป็นเกณฑ์ "ระบบอุปถัมภ์" เป็นระบบของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มีอำนาจทรัพย์สมบัติหรือบารมีกับ "ผู้รับอุปถัมภ์" ที่ต้องพึ่งพา "ผู้อุปถัมภ์" ที่อยู่เหนือกว่าและสามารถบันดาลสิ่งของที่ตนต้องการได้ เป็นการเสนอสนองตอบต่อกันที่อยู่บนพื้นฐานของข้อกำหนดทางศีลธรรม (Moral basis) ระบบอุปถัมภ์ได้รับการพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของโครงสร้างสังคมไทยในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การอุปถัมภ์กันระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้เช่า เจ้านายกับลูกน้อง เจ้าพ่อกับมือปืน หัวคะแนนกับการเลือกตั้ง และการซื้อเสียง ข้าราชการกับนักการเมืองและนักธุรกิจการคอร์รัปชัน


โลกาธิปไตย



ความหมาย

การถือคนอื่นเป็นใหญ่ นักบริหารประเภทนี้มีวิธีทำงานที่ตรงกันข้ามกับประเภทแรกนั่นคือ นักบริหารโลกาธิปไตยไม่มีจุดยืนเป็นของตัวเอง เขาขาดความเชื่อมั่นในตนเอง  ไม่สามารถตัดสินใจอะไร ถ้านั่งเป็นประธานอยู่ในที่ประชุม เขาจะฟังทุกฝ่ายก็จริง แต่เมื่อฝ่ายต่างๆ พูดขัดแย้งกัน เขาจะไม่ตัดสินชี้ขาด แต่เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายทุ่มเถียง  ทะเลาะกันเอง  ใครเสนอความคิดอะไรมา เขาเห็นคล้อยตามด้วยจนไม่ย่อมตัดสินใจเด็ดขาดลงไปว่า ฝ่ายไหนถูกหรือผิด ในที่สุดลูกน้องต้องวิ่งเต้นเข้าหานักบริหารประเภทนี้อยู่เรื่อยไป ผลลงเอยด้วยลูกน้องตีกันเอง เพราะนักบริหารไม่ยอมวินิจฉัยชี้ขาดว่าจะทำตามข้อเสนอของใคร นักบริหารประเภทนี้ได้คนแต่เสียงาน นั่นคือ ทุกคนชอบเขา  เพราะเขาเป็นคนอ่อนผู้ไม่เคยตำหนิใคร  ลูกน้องจะทำงานหรือทิ้งงานก็ได้ เขาไม่กล้าลงโทษ เขาสุภาพกับทุกคน แต่องค์การวุ่นวายไร้ระเบียบ และไม่มีผลงาน

อัตตาธิปไตย



ความหมาย

การถือตนเองเป็นใหญ่นักบริหารที่เป็นอัตตาธิปไตย ถือตนเองเป็นศูนย์กลางของการตัดสินใจ เขาเชื่อมั่นตนเองสูงมาก คิดว่าตัวเองฉลาดว่าใคร จึงไม่รับฟังความคิดเห็นของใคร  เขาไม่อดทนต่อการวิพากษ์วิจารณ์เขานิยมใช้พระเดชมากกว่าพระคุณ เมื่อบริหารงานนานๆ ไป จะไม่มีคนกล้าคัดค้านหรือทัดทาน ลงท้ายนักบริหารประเภทนี้มักเป็นเผด็จการ วิธีการบริหารแบบนี้ทำให้ ได้งานแต่เสียคน  นั่นคือ งานเสร็จเร็วทันใจนักบริหาร แต่ไม่ถูกใจคนร่วมงาน เขาผูกใจคนไม่ได้ เขาได้ความสำเร็จของงาน แต่เสียเรื่องการครองใจคน

ธรรมาธิปไตย



ความหมาย

การยึดถือหลักการ หลักเหตุผล หลักความจริง ความถูกต้อง ความเป็นธรรมเป็นประมาณในการบริหารจัดการต่างๆ คือจะทำอะไรก็ยึดถือธรรมเป็นหลัก ละเว้นการยึดถือตนและกระแสเสียงคนส่วนใหญ่ที่ไม่ถูกธรรมไม่เป็นธรรม

สิทธิชุมชน



ความหมาย

สิทธิในฐานะที่เขาเกิดมาเป็นมนุษย์ “สิทธิพลเมือง” ก็คือสิทธิในฐานะที่เป็น พลเมืองของประเทศ ดังนี้ “สิทธิชุมชน” จึงเป็นสิทธิของชุมชน เป็นอำนาจอันชอบธรรมที่ชุมชนพึงมีพึงได้อย่างถูกต้องชอบธรรม ผู้อื่นต้องยอมรับ จะละเมิดหรือริดรอนมิได้

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ระบบการเกิดรัฐชาติ



ความหมาย

 ความคิดอันนี้เกิดจากความเห็นที่ว่า  การพัฒนาการเมืองนั้นเกิดจากการจัดตั้งของชีวิตทางการเมืองและการปฏิบัติหน้าที่ทางการเมืองที่คล้องจองกับมาตรฐานของรัฐบาลในยุคใหม่  ในความเห็นนี้มีข้อสันนิษฐานว่า  จากประวัติศาสตร์มีระบบการเมืองหลายระบบและทุกสั่งคมมีระบบการเมืองของตน  แต่เมื่อเกิดรัฐชาติยุคใหม่  คุณลักษณะบางประการทางการเมืองของระบบรัฐชาติก็ตามมา  ดังนั้น  สังคมใดที่ต้องการเป็นรัฐยุคใหม่  สถาบันทางการเมืองของสังคมนั้นจะต้องปรับตัวเข้ากับคุณลักษณะเหล่านี้  การเมืองของจักรวรรดิ์ของสังคมชนเผ่าและเชื้อชาติหรือของอาณานิคมจะต้องสลายตัวไปเพื่อกลายเป็นระบบการเมืองในรัฐชาติ  ซึ่งจะดำเนินไปอย่างสัมฤทธิ์ผลร่วมกับรัฐชาติอื่น ๆ

ภาษาอังกฤษ : Political  Development  as  the  Operation  of  a  Nation – State

การพัฒนาการเมือง



ความหมาย:

การกระทำขององค์กรทางการเมืองซึ่งการกระทำนั้นส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากความคิดเก่าๆ ไปสู่ความคิดใหม่ๆ และความคิดใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ต้องดีกว่าเก่า

ภาษาอังกฤษ : Political Developmen

วัฒนธรรมทางการเมือง




ความหมาย :

 เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของสังคมการเมืองกับสังคมการเมืองในเชิงจิตวิทยา โดยวัฒนธรรมทางการเมืองใดที่สังคมการเมืองต้องการก็มักถูกปลูกฝังให้เป็นความคิด, อุดมการณ์, ความเชื่อ ฯลฯ ของสมาชิกในสังคมการเมืองนั้นๆ ดังนั้นวัฒนธรรมทางการเมืองจึงเป็นความคิด, อุดมการณ์, ความเชื่อ ฯลฯ ที่ขึ้นตรงกับกระบวนการสร้างความคิด, อุดมการณ์, ความเชื่อ ฯลฯจากสถาบันในทางการเมืองต่างๆที่แปรผันต่างกันไปตามแต่ละสังคมการเมือง วัฒนธรรมทางการเมืองเป็นมโนทัศน์ที่สำคัญในสาขาวิชาการพัฒนาการเมือง ซึ่งเป็นสาขาวิชาในทางรัฐศาสตร์

ภาษาอังกฤษ: Political Culture

โรคอยากกลับมาเป็นนายกฯ โดยไม่ต้องชนะเลือกตั้งทักษิณ



ความหมาย:

โรคชนิดใหม่ที่ตรวจพบครั้งแรกในอดีตนายกรัฐมนตรีที่ขึ้นครองตำแหน่งด้วยวิธีพิเศษ, และแพร่ระบาดมากในหมู่สมาชิกพรรคการเมืองเก่าแก่พรรคหนึ่ง. ผู้ป่วยมักเป็นข้ารับใช้ของกลุ่มอำนาจนอกระบบ ซึ่งมีความขลาดกลัวหยามเหยียดประชาชนเป็นที่ตั้ง.

ที่มา:

มาจากการแสดงความคิดเห็นบนเฟสบุ๊คส่วนตัวของหม่อมหลวงมิ่งมงคล โสณกุล เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕.

โรคขี้ข้าทักษิณ



ความหมาย:

โรคระบาดที่มักเกิดกับผู้ที่มีประวัติเดินทางไปพบกับอดีตนายกรัฐมนตรีผู้หนึ่งที่ดูไบ, กัมพูชา, หรือฮ่องกง. ผู้ป่วยมักตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางความคิดของอดีตนายกรัฐมนตรีผู้นั้น, และยอมทำทุกวิถีทางเพื่อให้เขาสามารถเดินทางกลับประเทศไทยได้โดยไม่ต้องถูกดำเนินคดี. ทั้งนี้, สมาชิกพรรคการเมืองเก่าแก่พรรคหนึ่งมักมีภูมิต้านทานโรคสูง.

ที่มา:

มาจากคำกล่าวในงานสานเสวนา “ผ่าความจริง หยุดกฎหมาย ล้างผิดคนโกง” และการแสดงความคิดเห็นในทวิตเตอร์ส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๕

ไพร่



ความหมาย:

สามัญชนโดยทั่วไปที่นอกจากจะถูกกีดกันหรือไม่มีเครือข่ายเชื่อมโยงกับชนชั้นปกครองซึ่งจะอำนวยสิทธิพิเศษทางการเมือง, เศรษฐกิจ, หรือสังคมให้ได้แล้ว, ยังต้องตกเป็นเครื่องมือ, แบกรับภาระ, หรือได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมอันเกิดจากการกระทำของชนชั้นดังกล่าวด้วย, จึงเป็นเหตุให้ศรัทธาและเพรียกหาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์,เสรีภาพ, ความเสมอภาค, ความยุติธรรม, และประชาธิปไตย.

ที่มา:

คำนี้ถูกให้ความหมายใหม่โดยนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ระหว่างการเคลื่อนไหวทางการเมืองในราวเดือนมีนาคม ๒๕๕๒, และนับตั้งแต่นั้นมา ได้กลายเป็นวาทกรรมที่นิยมผลิตซ้ำและใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายโดยคนเสื้อแดง เพื่อตอกย้ำให้เห็นความขัดแย้งทางชนชั้นและภาวะที่พวกตนถูกกระทำ.

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประชาธิปไตยแบบทางอ้อม



ความหมาย

เป็นการปกครองโดยที่ประชาชนมีหน้าที่เลือกผู้แทนไปทำหน้าที่แทนตนในรัฐสภา โดยการเลือกตั้งจะคัดเอาผู้ที่มีคะแนนเสียงเหนือกว่าเป็นมาตรฐานทั่วไป ผู้แทนดังกล่าวนอกเหนือจากจะสามารถมาจากการเลือกตั้งโดยตรงแล้ว ยังอาจเข้ามาจากการสรรหาตามรัฐธรรมนูญ หรืออาจมาจากการกำหนดผู้แทนโดยพรรคการเมือง หรืออาจใช้รูปแบบผสมผสานกัน การปกครองแบบประชาธิปไตยทางอ้อมบางรูปแบบได้ดึงเอาลักษณะของประชาธิปไตยทางตรงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย คือ การลงประชามติ การปกครองแบบดังกล่าวถึงแม้ว่าประชาชนจะเลือกผู้แทนเข้าไปทำหน้าที่แทนตน แต่ผู้แทนเหล่านั้นก็ยังคงมีอำนาจตัดสินใจของตนเอง และเลือกวิธีการดำเนินการต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่

ภาษาอังกฤษ: Indirect Democracy

ประชาธิปไตยทางตรงหรือประชาธิปไตยบริสุทธิ์



ความหมาย

เป็นรูปแบบการปกครองซึ่งประชาชนออกเสียงในการริเริ่มนโยบายต่าง ๆ โดยตรง ซึ่งขัดกับประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนตรงที่ประชาชนออกเสียงเลือกผู้แทนไปทำหน้าที่ออกเสียงการริเริ่มนโยบายออกทอดหนึ่ง ประชาธิปไตยทางตรงอาจนำมาซึ่งการผ่านการตัดสินใจบริหาร, เสนอกฎหมาย, เลือกตั้งหรือถอดถอนเจ้าหน้าที่และดำเนินการไต่สวน ประชาธิปไตยทางตรงหลัก ๆ สองรูปแบบมีประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ

ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม



ความหมาย

การมีส่วนร่วมในทางการเมืองการปกครอง ตลอดจนการกำหนดวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย ทั้งนี้ไม่ว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิเสรีภาพ หน้าที่ ตามระบอบการเมืองการปกครองที่ไม่ไปก้าวก่ายหรือก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นหรือสังคมส่วนรวม การมีส่วนร่วมในทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอาจจะจำแนกเป็น 3 ระดับ คือ
การมีส่วนร่วมในระดับเบื่องต้น เช่น ร่วมแสดงความคิดเห็นในทางการเมือง, ร่วมพูดคุยอภิปรายเรื่องราวทางการเมืองและสถานการณ์ปัจจุบัน, ร่วมลงชื่อเพื่อเสนอเรื่องราวหรือประชาพิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งในทางการเมือง, รวมกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อแสดงความคิดเห็นในทางการเมือง, เป็นสมาชิกพรรคการเมือง
การมีส่วนร่วมในระดับกลาง เช่น ร่วมเดินขบวนเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม, ร่วมปราศัยในการชุมนุมเรียกร้องเรื่องราว, ร่วมลงชื่อเพื่อเสนอให้ฝ่ายที่มีอำนาจตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง, ร่วมอดข้าวประท้วงหรือร่วมกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อเรียกร้อง
การมีส่วนร่วมในระดับสูง เช่น ร่วมลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา, ร่วมก่อตั้งพรรคการเมือง, ร่วมก่อตั้งรัฐบาล



NGO


ความหมาย

องค์กรที่ไม่ใช่ภาคราชการ และไม่ใช่ภาคธุรกิจที่แสวง หากำไร ก่อตั้งและดำเนินการโดยกลุ่มบุคคล ที่มีความมุ่งมั่นในอันที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไข ปัญหาสังคม โดยเฉพาะปัญหาด้านคุณภาพชีวิตของกลุ่มบุคคลผู้ด้อยโอกาสและประชาชนผู้ทุกข์ยาก อันเกิดจากผลกระทบของการพัฒนา



วิถีประชาธิปไตย



ความหมาย

พลเมืองที่มีคุณลักษณะที่สำคัญ  คือ  เป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา  มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต  ปฏิบัติตนตามกฎหมายดำรงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ให้เป็นสังคมและประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริงหลักการทางประชาธิปไตย

วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สวัสดิการสังคม



ความหมาย

ระบบการจัดบริการสังคม เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาทางสังคมและพัฒนาสังคม รวมทั้งการส่งเสริมความมั่นคงทางสังคม เพื่อให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตได้ในระดับมาตรฐาน โดยบริการดังกล่าวจะต้องตอบสนองความต้องการพื้นฐานของประชาชนให้ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ทั้งในด้านการมีศึกษาที่ดี การมีสุขภาพอนามัย การมีที่อยู่อาศัย การมีงานทำ การมีรายได้ การมีสวัสดิการแรงงาน การมีความมั่นคงทางสังคมนันทนาการ และบริการสังคมทั่วไป โดยระบบบริการสังคมต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิที่ประชาชนต้องได้รับและเข้ามามีส่วนร่วมในระบบการจัดบริการสังคมในทุกระดับ

ภาษาอังกฤษ : Social Welfare

ปฏิรูปการเมือง



ความหมาย

 การผ่าตัดปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจัดองค์กรทางการเมือง (และเศรษฐกิจส้งคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเมือง) เพื่อทำให้การพัฒนาทางการเมืองมีความเป็นประชาธิปไตยชนิดที่ประชาชนสามารถเข้าไปมีบทบาทได้มากขึ้น เป็นธรรม มีประสิทธิภาพ มีวุฒิภาวะในการที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้งต่างๆได้อย่างสันติวิธี การปฏิรูปการเมืองมีเป้าหมายที่จะทำให้โครงสร้างการจัดองค์กรทางการเมืองแบบใหม่ สามารถมีบทบาทในการพัฒนาประเทศเพื่อประโยชน์สุขของคนส่วนใหญ่ในระยะยาวได้มากกว่าที่แล้วมา ซึ่งเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของคนกลุ่มน้อยในระยะสั้นเท่านั้น

ประชาสังคม



ความหมาย

ประชาชนในสังคม ที่มีจิตสำนึกผิดชอบร่วมกัน มีการร่วมมือผ่านองค์กรที่หลากหลาย มีการเชื่อมโยงกัน เป็นเครือข่ายเพื่อทำการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีความคิดเพื่อสร้างเอกลักษณ์ มีความผูกพัน ความเชื่อร่วมกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการเข้ามามีอิทธิพลในการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐ หรือเพื่อให้รัฐมีสำนึกรับผิดชอบต่อสาธารณ

ภาษาอังกฤษ : Civil Society

รัฐบาลพลัดถิ่น



ความหมาย

การไปจัดตั้งรัฐบาลนอกประเทศ มักเกิดในกรณีสถานการณ์แบบบ้านเรานี้แหละครับ คือรัฐบาลของแต่ละประเทศจะมีบทบาทในเวทีโลกได้ ต้องได้รับการยอมรับจากนานาชาติก่อน
ปกตินานาชาติจะรับรองรัฐบาลจากการเลือกตั้ง มากกว่ารัฐบาลเผด็จการหรือมาโดยวิธีการอื่นใดที่ไม่เป็นที่ยอมรับ

รัฐบาลเงา



ความหมาย

คณะบุคคลที่ตั้งขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อให้มีหน้าที่ติดตามการทำงานของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด ในระบบการเมืองของอังกฤษมักจะมีการจัดตั้งรัฐบาลเงาขึ้นเสมอ โดยปกติในการประชุมสภา มักนิยมที่จะจัดที่นั่งให้ผู้ที่เป็นรัฐบาลเงาได้นั่งอยู่ในแถวหน้าสุดของที่นั่งของพรรคฝ่ายค้าน รัฐบาลเงานี้อาจได้รับเลือกตั้งจากสมาชิกของพรรค หรืออาจจะรับการแต่งตั้งจากหัวหน้าพรรคก็ได้

ภาษาอังกฤษ: Shadow Government

วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทรราชย์โดยเสียงส่วนใหญ่



ความหมาย

เป็นแบบการปกครองที่นักการเมืองต่างพากันหวาดเกรงกันมาก นั่นคือ การปกครองโดยใช้เสียงส่วนใหญ่ไปกระทำการชั่วร้ายต่าง ๆ แล้วกลับอ้างเอาว่า เสียงส่วนใหญ่ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว เรามักจะกล่าวเปรียบเทียบกันอยู่เสมอว่า ถ้าเอาพระ 500 รูป กับอันธพาล 5000 คน มาร่วมประชุมกันเพื่อหาข้อยุติในเรื่องอบายมุข เสียงนักเลงย่อมเหนือกว่าเสียงพระ การใช้เสียงส่วนใหญ่ตัดสินในลักษณะนี้จึงเป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก และไม่ควรยึดถึือรับเอาเป็นหลักการของการตัดสินโดยเสียงส่วนมาก

อังกฤษ: Tyranny of the majority



ความนิยมความเป็นกลาง



ความหมาย

ได้แก่การไม่ผูกพันฝักใฝ่ในฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด โดยเฉพาะในยุคสงครามเย็น เมื่อโลกได้แบ่งออกเป็นสองฝักสองฝ่าย ฝ่ายที่นิยมความเป็นกลาง จึงได้สร้างกลุ่มของตนเองขึ้นมาเป็นขบวนการอีกขบวนการหนึ่ง เรียกว่า ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด

ภาษาอังกฤษ : Nutralism

ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์



ความหมาย

การที่ผู้หนึ่งผู้ใดจะดำเนินกิจการใด ๆ ในนามของพระมหากษัตริย์ อธิบายง่าย ๆ ได้ว่าทำแทนพระมหากษัตริย์นั่นเอง ตัวอย่างเช่น การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด แต่ผู้พิพากษาหรือตุลาการจะต้องดำเนินการในพระปรมาภิไธย ทั้งนี้เพราะพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพระประมุขทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล

ภาษาอังกฤษ : In the Name of the King

นิรโทษกรรม



ความหมาย

เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อยกเว้นโทษให้ผู้กระทำผิดครับ  ยกตัวอย่างเช่นการก่อกบฎ เป็นความผิดมีโทษถึงประหารชีวิต การรัฐประหาร หรือปฏิวัติพวกนี้ก็ถือเป็นกบฎครับ มีโทษประหารเช่นกัน  คือถ้าทำการกบฎไม่สำเร็จต้องระวางโทษสูงสุดถึงประหารชีวิตครับ  แต่เมื่อกระทำการสำเร็จ ก็กลายเป็นผู้มีอำนาจในรัฐ เรียกว่าเป็น "รัฐฐาธิปัติย์"  แล้วเมื่อมีอำนาจแล้วก็ออกกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อให้การก่อกบฎของพวกตนนั้นไม่เป็นความผิดอีกต่อไปครับ  แต่ทุกวันนี้ถูกนำมาใช้กับเรื่องต่าง ๆ ที่มีความผิดแต่ต้องการให้ได้รับยกเว้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความผิดเล็ก ๆ น้อยน้อย  ใหญ่ ๆ  หรือแม้ไม่มีความผิดแต่ถูกกล่าวหาก็ตาม

ภาษาอังกฤษ : Amnesty

นักวิ่งเต้น



ความหมาย

ห้องพักผ่อนหรือห้องนั่งเล่น(ของสมาชิกรัฐสภา) อันเป็นสถานที่ที่หัวคะแนนหรือผู้สนับสนุนทางการเมืองจะสามารถเข้าไปพบปะกับผู้แทนราษฎรของตนได้ คำนี้ต่อมากลายเป็นคำที่ใช้เรียกผู้หาเสียงสนับสนุนมืออาชีพที่รู้จักมักคุ้นกับบรรดาสมาชิกผู้แทนราษฎรของพรรคต่าง ๆ จำนวนมาก และสามารถที่จะขอคะแนนสนับสนุนจากสมาชิกผู่้แทนราษฎรในการลงมติเรื่องสำคัญๆ ได้ ในด้านการเมืองระหว่างประเทศ มีการจ้างคณะผู้หาเสียงสนับสนุนอย่างนี้ให้ช่วยหาเสียงสนับสนุนให้แก่ประเทศของตนก็ได้เช่น การขอไม่ให้รัฐสภาลงมติตัดความช่วยเหลือหรือตัดสิทธิพิเศษบางประการที่เคยให้ประเทศของตน เป็นต้น

ภาษาอังกฤษ : Lobbyists มาจากคำว่า Lobby

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความเหลื่อมล้ำทางสังคม


ความหมาย

ความแตกต่างหลากหลายทางชนชั้นในสังคมเป็นเครื่องบ่งชี้วัดอำนาจการเข้าถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและความแตกต่างของการใช้และการเข้าถึงนั้นนำมาสู่ความเหลื่อมล้ำของคนในสังคม  ความเป็นไปในรูปแบบ “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” คนเก่งกว่าก็ได้ประยชน์คนที่อ่อนแอก็เสียประโยชน์ถูกเอาเปรียบต่อไป  โครงสร้างของสังคมที่เป็นอยู่นี้ล้วนตอกย้ำให้เห็นความไม่เท่าเทียมกันไม่ว่าจะยุคสมัยใดก็ตามก็ยังคงวนเวียนอยู่ที่เดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงทีเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นเลยที่ผ่านมาเราจะเห็นว่าชนชั้นกรรมาชีพลุกขึ้นมาประท้วง เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้เกิดความเสมอภาคแต่ดูจะไม่เป็นผล


ประโยชน์นิยม



ความหมาย

แนวคิดที่เชื่อว่าคุณค่าทางศีลธรรมเป็นการกระทำที่ขึ้นอยู่กับการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม กล่าวคือ เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความสุขหรือความพอใจขึ้นในบุคคลโดยทั่วไป ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของผลลัพธ์นิยม หรือการยึดถือคุณค่าทางศีลธรรมขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นหลัก นักคิดทั้งหลายได้นิยามคำว่า "ประโยชน์" นี้หมายถึงความดีสูงสุด ได้แก่ ความสุขหรือความพอใจ (ตรงกันข้ามกับความทรมานหรือความเจ็บปวด) ทำให้อาจสามารถอธิบายได้ด้วยรูปแบบของชีวิตว่า ความสุขหรือความพอใจถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสูงสุด

ประโยชน์นิยมถูกอธิบายด้วยถ้อยวลี "เป็นสิ่งดีสูงสุดสำหรับบุคคลจำนวนมากที่สุด" ดังนั้น ประโยชน์นิยมจึงเป็นที่รู้จักกันว่าเป็น "ทฤษฎีความสุขที่ยิ่งใหญ่ที่สุด" ประโยชน์นิยมยังเป็นการแสดงถึงลักษณะการเชื่อมโยงต่อหลักจริยธรรม ซึ่งมีความผิดแผกไปจากจริยศาสตร์ ซึ่งไม่พิจารณาว่าผลลัพธ์ของการกระทำเป็นตัวกำหนดศีลธรรม เป็นต้น โดยผู้ที่มีมุมมองตรงกันข้ามกับประโยชน์นิยมได้วิพากษ์วิจารณ์มุมมองในแบบประโยชน์นิยมอยู่เรื่อย ๆ แต่ผู้ลัทธิประโยชน์นิยมก็มีวิพากษ์วิจารณ์ต่อแนวคิดอื่น ๆ คล้าย ๆ กัน และเหมือนกับทฤษฎีทางจริยธรรมทั้งหลาย การปฏิบัติตามแนวคิดประโยชน์นิยมเองก็ต้องพึ่งองค์ประกอบภายนอกเช่นกัน ได้แก่ สติปัญญา ประสบการณ์ ทักษะสังคม และทักษะชีวิต

ภาษาอังกฤษ: utilitarianism

เสรีประชาธิปไตย



ความหมาย

 ประชาธิปไตยที่เคารพสิทธิของเสียงข้างน้อย (liberal democracy) หรือ เป็นรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน โดยที่อำนาจในการตัดสินใจกระทำการใดๆ ในทางการเมืองและทางเศรษฐกิจของประเทศ
ประกอบด้วยสองส่วนสำคัญคือ
1.ลัทธิเสรีนิยม
2.ระบอบประชาธิปไตย

ภาษาอังกฤษ: liberal democracy

ธรรมาภิบาล



ความหมาย

กระบวนการทำคำวินิจฉัย และกระบวนการเพื่อบังคับใช้ (หรืองดเว้นจากการบังคับใช้) ซึ่งคำวินิจฉัยนั้น" และยังใช้แก่องค์กรใดก็ได้ ไม่ว่า บริษัทห้างร้าน หน่วยงานการปกครองระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ หรือระดับระหว่างประเทศ ตลอดจนถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม

ที่มา

แนวความคิดเรื่อง "ธรรมาภิบาล" นั้นมักปรากฏว่าใช้เป็นแบบแผนเปรียบเทียบหน่วยงานทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ก้าวหน้ากับที่ไร้ประสิทธิภาพ แต่ที่ความหมายของคำ "ธรรมาภิบาล" ยังสรุปมิได้นั้น ก็เนื่องจากในโลกร่วมสมัยนี้ รัฐประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม โดยเฉพาะในยุโรปและอเมริกา มีการปกครองที่ "ประสบผลสำเร็จ" เป็นอันมาก สถาบันต่าง ๆ ในรัฐเหล่านี้จึงมักกำหนดมาตรฐานไว้เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของตนกับของสถาบันในรัฐรูปแบบอื่น ๆ ต่าง ๆ กันไป นอกจากนี้ ยังเป็นเพราะว่า คำ "ธรรมาภิบาล" นั้นจะมุ่งหมายถึงบุคคลใดในการปกครองก็ได้ องค์การด้านความช่วยเหลือกับทั้งเจ้าหน้าที่บ้านเมืองในประเทศที่เจริญแล้วจึงมักนิยามคำนั้นต่าง ๆ กันไปแล้วแต่บริบท เพื่อวางข้อกำหนดและข้อเรียกร้องต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับระเบียบวาระและอุดมการณ์ของตน

ภาษาอังกฤษ: good governance

นโยบายสาธารณะ



ความหมาย

แนวทางกิจกรรม การกระทำ หรือการเลือกตัดสินใจของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลได้ทำการตัดสินใจและกำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อชี้นำให้มีกิจกรรมหรือการกระทำต่าง ๆ เกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ โดยมีการวางแผน การจัดทำโครงการ วิธีการบริหารหรือกระบวนการดำเนินงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และความต้องการของประชาชน ผู้ใช้บริการในแต่ละเรื่อง

นิยาม

1.สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกจะกระทำหรือไม่กระทำ 2.กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลหรือองค์กรของรัฐจัดทำขึ้นเช่น การจัดการบริการสาธารณะ (public services ),การจัดทำสินค้าสาธารณะ (public good),การออกกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย 3.แนวทางปฏิบัติบัติที่กำหนดขึ้น เพื่อตอบสนองต่อปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น หรือแนวทางที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหา 4.ความคิดของรัฐที่กำหนดว่าจะทำอะไรหรือไม่ อย่างไร เพียงไร เมื่อไร 5.แนวทางกว้าง ๆ ที่รัฐบาล (ไม่ว่าจะระดับใด) กำหนดขึ้นเพื่อล่วงหน้า เพื่อเป็นการชี้นำให้เกิดการกระทำต่าง ๆ ตามมา

ภาษาอังกฤษ: public policy

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

คอร์รัปชั่น



ความหมาย

ความผิดที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา อันได้แก่ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ, ความผิดที่เกี่ยวกับความยุติธรรม และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการบุติธรรม ซึ่งกล่าวง่ายๆ คือ การกระทำเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรชอบได้ด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เช่น
1. การเบียดบังทรัพย์ของทางราชการเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต
2. ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ
3. การบอกว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์แก่เจ้าพนักงาน

ประเภทของคอรัปชั่น มีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่

1. การคอรัปชั่นขนาดเล็กน้อย (petty corruption) คือ การรับเงินที่ไม่ชอบธรรม หรือไม่ถูกต้องของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นจำนวนเงินที่ไม่มากนัก เพื่อดำเนินการบางอย่างให้กับผู้ที่ให้เงิน
2. การคอรัปชั่นขนาดใหญ่ (big corruption) ซึ่งมักเป็นการคอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่ระดับสูง ที่รับเงินในรูปแบบของสินบนเป็นเงินจำนวนสูง และโครงการใหญ่ๆ เช่น บริษัทต่าง ๆ
3. การให้ของขวัญ (gift) เป็นการคอรัปชั่นอีกประเภทหนึ่ง เป็นการให้ตอบแทนในรูปแบบสิ่งของ หรือการให้ตอบแทนในรูปแบบอื่นๆ เช่น การเชิญไปรับประทามอาหาร ซึ่งเป็นการพยายามสร้างความสัมพันธ์อันใกล้ชิด

สัญญาประชาคม



ความหมายที่นำมาใช้ในการเมืองไทยปัจจุบัน

 ความตกลงร่วมกันของประชาชน กลุ่มผลประโยชน์ร่วมกันหรือกลุ่มคนที่มีแนวความคิดเดียวกัน กับฝ่ายตรงข้าม เพื่อเป็นการแสวงความตกลงและทางออกของปัญหาซึ่งเป็นปัญหาที่มีผลกระทบในวงกว้างซึ่งหากปล่อยไว้อาจจะก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม

ความหมายที่แท้จริง

ทฤษฎีสัญญาประชาคม อันเป็นนัยตามหลักกฎหมายธรรมชาติ มีลักษณะเป็น สำนึกของจริยธรรม ที่ผู้ปกครองควรตระหนักถึง สิทธิบางประการที่ผู้อยู่ใต้ปกครอง (ประชาคม) ได้ยอมสละไป (อาจเรียกได้ว่ายอมอยู่ใต้อำนาจของผู้ปกครอง) เพื่อความปลอดภัยของตนในสิทธิและเสรีภาพที่ยังคงเหลืออยู่ แนวคิดเช่นนี้เองที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย โดยตรรกกะจากสำนึกจริยธรรมดังกล่าว หากมองในมุมกลับกันก็หมายความว่า อำนาจแท้จริงของผู้ปกครองนั้นมาจากประชาชนนั่นเอง ดังนั้นประชาชนควรจะเป็นผู้ที่ใช้สิทธิของตนเลือกผู้ปกครองขึ้นมา และในการนี้วิธีที่เหมาะสมก็คือการใช้เสียงข้างมากในการตัดสิน

ที่มา

มีนักคิดหลายคนที่ถือว่าเป็นผู้มีส่วนในการริเริ่มแนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม เช่น
โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) - กล่าวถึงในหนังสือ Leviathan (1651)
จอห์น ล็อก (John Locke) - กล่าวถึงในหนังสือ Two Treatises of Government (1689)
ฌ็อง-ฌัก รูโซ (Jean Jacques Rousseau) - กล่าวถึงในหนังสือ Du Contrat social (1762)
อย่างไรก็ตามจุดริเริ่มแนวคิดนี้ในหนังสือ Leviathan (The Matter, Forme and Power of a Common Wealth Ecclesiasticall and Civil) นั้น ฮอบส์ไม่ได้เขียนเพื่อมุ่งกล่าวถึงสัญญาประชาคมโดยเฉพาะเจาะจง แต่มุ่งอธิบายถึงธรรมชาติของมนุษย์และโครงสร้างสังคม เป็นที่น่าสังเกตว่า ตัวฮอบส์เองนั้นปฏิเสธหลักการแบ่งอำนาจอธิปไตย ไม่ปฏิเสธระบอบกษัตริย์ แต่กล่าวถึงแนวทางการใช้อำนาจที่เหมาะสมเท่านั้น

ภาษา อังกฤษ: Social contract

นิติรัฐ



ความหมาย

รัฐที่ปกครองโดยกติกา มิใช่ปกครองโดย อำเภอใจ หรือ ใช้กำลัง โดยทุกคนจะต้องอยู่ภายใต้กติกาหรือกฎหมายอย่างเสมอกัน รัฐบาลก็จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย และจะมีอำนาจกระทำการใดที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพประชาชนได้ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น และเนื่องจากประชาธิปไตยคือการปกครองโดยประชาชน กฎหมายที่ใช้ในการปกครองจึงต้องมาจากประชาชน และนี่เองคืออำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร “สภา” ของ “ผู้แทนราษฎร” ที่ “ราษฎร” ได้เลือกเข้าไปทำหน้าที่ออกกฎหมายแทนตนเอง