วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความเป็นพลเมือง



ความหมาย


“พลเมือง” ในระบอกประชาธิปไตย แตกต่างจากพลเมืองของระบอบอื่นที่พลเมืองจะมี “คุณสมบัติ”อย่างไร จะเป็นไปตามที่ผู้มีอำนาจประสงค์จะให้เป็น ขณพที่ระบอบประชาธิปไตย เจ้าของอำนาจสูงสุดคือ ประชาชน ดังนั้น ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจจึงกำหนดชีวิตตนเองได้ “ประชาชน” ในระบอบประชาธิปไตย จึงแตกต่างหลากหลายได้ เมื่อแตกต่างหลากหลายได้ จึงต้องเคารพซึ่งกันและกันและใช้กติกาในการแก้ปัญหา จึงจะสามารถอยู่ร่วมกันและปกครองกันตามวิถึทางประชาธิปไตยได้ ดังนั้น “พลเมือง” ในระบอบประชาธิปไตย จึงหมายถึง สมาชิกของสังคมที่มีอิสรภาพ(Liberty)และพึ่งตนเองได้(independent)ใช้สิทธิเสรีภาพโดยควบคู่กับความรับผิดชอบ เคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น เคารพความแตกต่าง เคารพหลักความเสมอภาค เคารพกติกา ไม่แก้ปัญหาด้วยความรุนแรง ตระหนักว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ร่วมรับผิดชอบต่อสังคม มีจิตสาธารณะ และกระตือรือร้นที่จะรับผิดชอบหรือร่วมขับเคลื่อนสังคมและแก้ปัญหาสังคมในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ในครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับประเทศ ระดับอาเซียนและระดับประชาคมโลก “พลเมือง” ในระบอบประชาธิปไตยสามารถสรุปคุณสมบัติได้ 6 ประการดังต่อไปนี้
         1) มีอิสรภาพ(Liberty)และพึ่งพาตนเองได้(independent)ไม่อยู่ภายใต้การครอบงำของระบบอุปถัมภ์
         2) เคารพสิทธิผู้อื่น ไม่ใช้สิทธิเสรีภาพของตนไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น (ทั้งนี้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 28 ที่บัญญัติว่า “บุคคลย่อมใช้…สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น”)
         3) เคารพความแตกต่าง มีทักษะในการฟัง และยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างจากตนเอง
         4) เคารพหลักความเสมอภาพ เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น และเห็นคนเท่าเทียมกัน มองคนเป็นแนวระนาบ ไม่ใช่แนวดิ่ง
         5) เคารพกติกา เคารพกฎหมาย ใช้กติกาในการแก้ปัญหา ไม่ใช้กำลัง และยอมรับผลของการละเมิดกฎหมาย
         6) รับผิดชอบต่อสังคม ตระหนักว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคมกระตือรือร้นที่จะรับผิดชอบและร่วมแก้ไขปัญหาสังคมโดยเริ่มต้นที่ตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น