วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รากหญ้า



ความหมาย

เป็นขบวนการอย่างหนึ่ง (มักใช้ในบริบทของขบวนการทางการเมือง) ที่ขับเคลื่อนด้วยการเมืองของชุมชนท้องถิ่น คำดังกล่าวเป็นการแสดงนัยว่าการสร้างขบวนการและกลุ่มที่สนับสนุนขบวนการดังกล่าวเป็นธรรมชาติและเกิดขึ้นเอง อันเป็นการเน้นความแตกต่างระหว่าง "รากหญ้า" กับขบวนการซึ่งจัดตั้ขึ้นตามโครงสร้างอำนาจแบบเก่า ขบวนการรากหญ้ามักเกิดขึ้นในระดับท้องถิ่น โดยมีอาสาสมัครจำนวนมากในชุมชนเสียสละเวลาเพื่อสนับสนุนพรรคในท้องถิ่น ซึ่งสามารถนำไปสู่การช่วยเหลือพรรคในระดับชาติได้ ยกตัวอย่างเช่น ขบวนการรากหญ้าสามารถนำไปสู่การลงคะแนนเสียงให้แก่พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งอย่างสำคัญ ซึ่งจะช่วยรัฐและพรรคการเมืองระดับชาติ

ที่มา

จุดกำเนิดการใช้คำว่า "รากหญ้า" โดยเป็นคำอุปมาทางการเมืองนั้นไม่แน่ชัด ในสหรัฐอเมริกา การใช้วลี "รากหญ้าและรองเท้าบูท" คาดกันว่าถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยสมาชิกวุฒิสภา อัลเบิร์ต เจเรไมอาห์ เบเวอร์ริดจ์ แห่งรัฐอินเดียนา จากพรรคก้าวหน้าในปี ค.ศ. 1912 ในคำกล่าวที่ว่า "พรรคนี้มาจากรากหญ้า มันเติบโตมาจากดินแห่งความต้องการอย่างแรงกล้าของประชาชน"

ในประเทศไทย

รากหญ้า เป็นคำศัพท์ที่ใช้อย่างกว้างขวางในช่วงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีทั้งสองสมัย ใช้เปรียบเทียบหมายถึง ประชาชนชั้นล่างของสังคมไทย โดยมากเป็นเกษตรกร, ผู้ใช้แรงงาน ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ที่มีรายได้น้อย มีภาวะการครองชีพต่ำ โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัด
รากหญ้าจึงเป็นเป้าหมายของการใช้นโยบายประชานิยม ซึ่งถือกันว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง และกลุ่มรากหญ้านี่เองที่เป็นฐานเสียงให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ และพรรคไทยรักไทย
คำว่า รากหญ้า นี้มีที่มาจากภาษาอังกฤษว่า grassroots หลังจากการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ได้ใช้คำว่า รากแก้ว เรียกขานแทน และขอให้สื่อมวลชนเปลี่ยนมาใช้คำนี้แทน แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมนัก อนึ่ง หญ้าไม่มีรากแก้ว มีแต่รากฝอย ดังนั้นการเสนอให้ใช้คำว่ารากแก้ว จึงไม่มีความถูกต้องทางชีววิทยา

อังกฤษ : grassroots

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น